ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก

ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก

 
ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก
ท่านผู้อ่านคงสงสัยว่า ทำไม
“ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก” กลายเป็น “สิ่งของ” ไปได้ 


 

ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก

เหวินเหวิน ณ สวนชั่งชุน
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

 

ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก

                                       

อ่านได้ 2 อย่างและความหมายก็ต่างกันด้วย คือ

หมายถึง ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก

(ตัวหลังออกเสียงเบา) หมายถึง สิ่งของ

ท่านผู้อ่านคงสงสัยว่า ทำไม “ ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก ” กลายเป็น “ สิ่งของ ” ไปได้ เกี่ยวกับที่มาของคำศัพท์นี้ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน

กงเหว่ย (ปราชญ์สมัยราชวงศ์ชิง) เชื่อว่า คำนี้มีใช้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220 ) แล้ว เพราะในสมัยนั้นการค้ารวมศูนย์อยู่ที่เมืองหลวงทั้ง 2 แห่ง คือ เมืองหลวงตะวันออกอยู่ที่เมืองลั่วหยางและเมืองหลวงตะวันตกอยู่ที่เมืองฉางอาน (ซีอาน)

เมื่อพ่อค้าพูดว่า “ ซื้อทิศตะวันออก() ” “ ซื้อทิศตะวันตก() ” จึงเป็นที่รู้กันว่า หมายถึง ไปซื้อของที่เมืองหลวงตะวันออกกับเมืองหลวงตะวันตกนั่นเอง นานวันเข้า เวลาจะไปซื้อของจึงพูดว่า

แต่มีนักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า คำนี้เกิดจากบทสนทนาระหว่างนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์ซ่ง นามว่า จูซี กับเซิ่งเวินหญูเพื่อนสนิทของท่าน เรื่องราวมีอยู่ว่า

วันหนึ่งท่านจูซีพบกับเพื่อนระหว่างทางโดยบังเอิญ ในมือของเพื่อนถือตะกร้าหวายอยู่ ด้วยความสนใจจึงถามขึ้นว่า “ ท่านจะไปไหน? ”

แทนที่สหายคนสนิทจะตอบตรงๆ ว่าจะไปไหน กลับพูดว่า “ ข้าจะไปซื้อทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก ”ท่านจูซีจึงถามขึ้นอีกว่า “ เหตุไฉนท่านจึงไม่ไปซื้อทิศใต้กับทิศเหนือหละ? ”

เซิ่งเวินหญูจึงไขข้อข้องใจว่า “ ท่านคงทราบดีว่า ตามหลักโหราศาสตร์ ทิศตะวันออกคือธาตุไม้ ทิศตะวันตกคือธาตุทอง ทิศใต้คือธาตุไฟและทิศเหนือคือธาตุน้ำ สิ่งของทั้งหมดที่มีธาตุไม้กับธาตุทองสามารถบรรจุลงในตะกร้าหวายของข้าได้ ส่วนสิ่งที่มีธาตุไฟกับธาตุน้ำใส่ไม่ได้ ข้าจะไปซื้อทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก ส่วนจะไปซื้อทิศใต้กับทิศเหนือนั้นหาได้ไม่ ก็ด้วยเหตุฉะนี้แล ”

Date

27 เมษายน 2564

Tags

เรียนภาษาจีนจากภาพ